บทที่ 10

การปฏิรูปการศึกษาไทย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ถนอม บรรณประเสริฐ

รัชดา โชติพานิช

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว นอกจากการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ในด้านการศึกษา มีการปฏิรูปให้เป็นระบบใหม่ตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก ที่เป็นรากฐานของการศึกษาในปัจจุบัน ศูนย์กลางของการปฏิรูปนั้นอยู่ที่การจัดตั้งโรงเรียนที่มีระบบการสอนและการบริหารจัดการแบบตะวันตกได้แก่ การจัดทำหลักสูตรการเรียนสำหรับนักเรียนแต่ละชั้นปีการศึกษา การจัดทำแบบเรียนขึ้นใหม่ประกอบการสอนตามหลักสูตร ตารางสอน การสอบซ้อมและสอบไล่ การรับรองผลสอบและการให้วุฒิ การจัดตั้งผู้ตรวจการโรงเรียน (Inspector) เพื่อควบคุมกำกับโรงเรียนต่าง ๆ ที่เริ่มขยายไปทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยบริหารจัดการกลาง ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นแผนกโรงเรียนของกรมทหารมหาดเล็ก และแยกออกมาจัดตั้งเป็นกรมศึกษาธิการซึ่งเจริญขึ้นเป็นกระทรวงพระธรรมการ กระทรวงธรรมการ และกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ โดยการปฏิรูปแบบเรียนไทยจัดเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่นี้

สำเนาเรียบเรียงที่จะจัดการโรงเรียนเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.. 2428 แสดงการวางแผนจัดการศึกษาแบบใหม่ แบ่งเป็น 3 ระดับชั้น ได้แก่ ชั้นสามัญ ชั้นกลาง และชั้นสูง (สมัยนั้นใช้คำว่าโรงเรียนชั้นสูง หมายถึง University) ที่ดำเนินการไปตามความพร้อมของประเทศ ในลำดับต้น จึงจัดการศึกษาชั้นสามัญให้แพร่หลาย โดยตั้งโรงเรียนพระอารามตามตำบลต่าง ๆ ทั่วประเทศ และจัดให้มีการศึกษาชั้นกลาง อย่างโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนช่าง โรงเรียนสำหรับฝึกสอนวิชาทหารบก และโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็นต้น ส่วนการศึกษาชั้นสูงที่แท้จริงตามที่ใช้เรียก University ในระยะแรกก่อนที่จะบัญญัติศัพท์ว่ามหาวิทยาลัยยังไม่มีในขณะนั้น แม้ว่าในระยะแรกได้มีการกำหนดให้โรงเรียนสุนันทาลัย

 

413 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เป็นโรงเรียนชั้นสูง (University) แต่ไม่ประสบความสำเร็จและเลิกไป ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้รวมโรงเรียนชั้นกลางต่าง ๆ เช่น โรงเรียนมหาดเล็ก โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนกฎหมาย (เดิมรวมอยู่ในโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์) จัดตั้งเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับว่าเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา (University) สามารถดำเนินการได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

สิ่งที่สำคัญอีกประการคือ การปฏิรูปการศึกษาไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ถือเป็นจุดกำเนิดระบบราชการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยเช่นกัน ด้วยจัดรวมอยู่ในกระทรวงธรรมการเมื่อแรกตั้ง ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลพระราชทานมรดกของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ให้กับโรงพยาบาล ณ วังหลัง และทรงขอบใจกรมหมื่นดำรงราชานุภาพที่เป็นต้นคิดเรื่องจัดตั้งโรงพยาบาล ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2431 มีความสำคัญบางตอนว่า

...โรงพยาบาลนี้ได้คิดมาช้านาน อยากจะให้มีขึ้นได้ในทันใด แต่การนั้นไม่สำเร็จไปได้ตลอด...การที่คิดไว้นี้ได้ทดลองจะจัดการบ้างก็ยังไม่เห็นว่าจะเป็นการถาวรมั่นคงได้ ภายหลังเกิดวิบัติเคราะห์ร้ายลูกเราซึ่งเป็นที่รักตายเป็นที่สลดใจด้วยการที่รักษาไข้เจ็บ เห็นว่าแต่ลูกเราพิทักษ์รักษาเพียงนี้ ยังได้ความทุกข์เวทนาแสนสาหัส ลูกราษฎรอนาถาทั้งปวงจะได้ความลำบากทุกข์เวทนายิ่งกว่านี้ประการใด ยิ่งทำให้มีความปรารถนาที่จะให้มีโรงพยาบาลยิ่งขึ้น ภายหลังกรมหมื่นดำรงราชานุภาพคิดการที่จะตั้งโรงพยาบาลทำความเห็นมายื่น เห็นว่าเป็นทางที่จะจัดการตลอดได้ จึ่งได้ตั้งท่านทั้งหลายเป็นคอมมิตตีจัดการ แลได้ปรึกษากับแม่เล็กเสาวภาผ่องศรี มีความชื่นชมในการที่จะสงเคราะห์คนที่ได้ความลำบากด้วยป่วยไข้นี้ด้วย ยอมยกทรัพย์สมบัติของลูกที่ตายให้เป็นส่วนในการทำโรงพยาบาลนี้เป็นต้นทุน...ขอขอบใจกรมหมื่นดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นต้นคิด แลคอมมิตตีทั้งปวงอันได้พร้อมใจกันช่วยจัดการให้ตลอดสมประสงค์ได้ดังนี้ ...

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจัดตั้งการแพทย์แบบตะวันตกมาตั้งแต่ พ.. 2414 ทดลองจัดระบบการแพทย์ทหารแบบตะวันตกขึ้นครั้งแรกในกรมทหารมหาดเล็ก มีตำแหน่งแพทย์ประจำกองทหารครั้งแรก คือ หม่อมเจ้าสายในกรมหลวงวงษาธิราช-สนิท (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์) ดำรงตำแหน่งเป็นเซอเยน (Surgeon)

ในปี พ.. 2420 ตราพระราชบัญญัติเป็นข้อบังคับสำหรับกรมทหารมหาดเล็ก จ.. 1239กำหนดให้ตำแหน่งแพทย์มี 2 ตำแหน่ง คือเซอเยน” (Surgeon) 1 ตำแหน่ง และฮอสปิเติลซายัน” (Hospital Sergeant) 1 ตำแหน่ง มีหน้าที่ตรวจรักษาทหารป่วย และผลัดเปลี่ยนเวรกันนอนโรง คนละ 7 วัน ถ้าเจ็บอยู่กับบ้าน อย่าให้ หมอในโรง(1) ไปอยู่ เปนแต่ให้ไปตรวจเปนเวลา ถ้าเจ็บใน โรงหมอในโรง พิทักษรักษาให้จงดีคำว่า โรงหมอในโรง

 

414 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

หมายถึง โรงหมอในโรงทหารมหาดเล็ก

.. 2423 ตราพระราชบัญญัติทหารหน้า(2) กำหนดให้มีตำแหน่งแพทย์ทหาร ลักษณะเดียวกันกรมทหารมหาดเล็ก ในปี พ.. 2425 มีการสร้างโรงทหารหน้า” (ปัจจุบันคือศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม เลขที่ 7 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร) ออกแบบให้มีโรงหมอในโรงทหารหน้า

ภายหลังเมื่อมีการบัญญัติศัพท์ว่าโรงพยาบาลในปี พ.. 2430 จึงเรียกโรงหมอในโรงทหารมหาดเล็กว่าโรงพยาบาลทหารมหาดเล็กและเรียกโรงหมอในโรงทหารหน้าว่าโรงพยาบาลทหารหน้า

ระบบราชการแพทย์ทหารในระยะแรกนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ เป็นระบบที่มั่นคงถาวรได้ ดังพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว...โรงพยาบาลนี้ได้คิดมาช้านาน อยากจะให้มีขึ้นได้ในทันใด แต่การนั้นไม่สำเร็จไปได้ตลอด...การที่คิดไว้นี้ได้ทดลองจะจัดการบ้างก็ยังไม่เห็นว่าจะเป็นการถาวรมั่นคงได้...

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.. 2428(3) และวันที่ 15 ธันวาคม พ.. 2429(4) พระเจ้า-น้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ถวายความเห็นเรื่องการจัดสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตกนั้น จะต้องมีการจัดตั้งโรงพยาบาลก่อน ดังคำกราบบังคมทูลว่า “…แต่ที่จะคิดอ่านการฝึกหัดวิชาหมอแท้ก่อนที่ได้มีโรงรักษาคนไข้ตั้งขึ้นนั้นก็ไม่ได้ทรงเห็นว่า ควรจัดตั้งโรงพยาบาลเสียก่อนจึงจะจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาแพทย์ได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่ากอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลในปี พ.. 2430 เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลศิริราชเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลแบบตะวันตกของไทย จัดตั้งกรมพยาบาลซึ่งพัฒนาการกลายเป็นกระทรวงสาธารณสุข และจัดตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยเป็นต้นแบบของโรงเรียนแพทย์แบบตะวันตกของไทย ทำให้ระบบการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบันของประเทศไทยมีความเจริญมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน

การปฏิรูปการศึกษาไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปฏิรูปโรงเรียนแบบใหม่เป็นหลัก และปฏิรูปองค์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่ แบบเรียน หลักสูตรการศึกษา การสอบไล่ การเตรียมอาจารย์ โครงสร้างระบบราชการโรงเรียน และอื่น ๆ อาจแบ่งได้ 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ก่อนตั้งโรงเรียน ระหว่าง พ.. 2411 - 2413 นับตั้งแต่มีการฝึกมหาดเล็ก 24 คน เป็นทหารสองโหลมีการรับมหาดเล็กเพิ่มเติม และฝึกให้เป็นทหารจำนวนมากขึ้น ต่อมาตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็ก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง) จัดการฝึก ตั้งโรงสอนทหารมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังเรียกว่า โรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็ก

ระยะที่ 2 ทดลองโรงเรียน (New Education System - Prototypes) ระหว่าง พ.. 2414 - 2428 นับตั้งแต่การจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยและโรงเรียนต่าง ๆ เมื่อ พ.. 2414 จนถึง พ.. 2428 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ดำรงตำแหน่งอธิบดีบัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก และมีหน้าที่ดูแลการจัดการโรงเรียนซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมทหารมหาดเล็ก

ระยะที่ 3 ปฏิรูปโรงเรียนทั่วประเทศ (New Education System Reform) ระหว่าง พ.. 2428 - 2430 เป็นช่วงที่มีการขยายปรับปรุงระบบการศึกษาไทยครั้งใหญ่ ออกไปสู่หัวเมือง

 

415 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จนเกิดรูปแบบการศึกษาแบบใหม่ชัดเจน สามารถจัดตั้งเป็นกรมศึกษาธิการ พ.. 2430

ระยะที่ 4 ปรับปรุงการโรงเรียน (New Education System Reorganization) ตั้งแต่ พ.. 2430 จัดตั้งกรมศึกษาธิการ และยกขึ้นเป็นกระทรวงกระทรวงหนึ่ง ถือเป็นการปรับปรุงระบบการศึกษาแบบใหม่ซึ่งเกิดเสถียรภาพมั่นคงตั้งแต่ พ.. 2430 เป็นต้นมา

การปฏิรูปการศึกษาไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 พ.. 2411 - 2414 ก่อนการจัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก

ระยะที่ 2 พ.. 2414 - 2428 ทดลองจัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก

ระยะที่ 3 พ.. 2428 - 2430 ปฏิรูปโรงเรียนทั่วประเทศ

ระยะที่ 4 ตั้งแต่ พ.. 2430 เป็นต้นมา กรมศึกษาธิการ

ระยะที่ 1 พ.. 2411 - 2414 ก่อนการจัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก

1. จุดเริ่มต้นของโรงสอนทหาร (โรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็ก)

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.. 2411 - ตั้งทหารสองโหล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็กข้าหลวงเดิมที่เฝ้าพระฉาก ทำหน้าที่เป็นทหารมหาดเล็กขึ้น 1 หมู่ ประกอบด้วยทหารมหาดเล็ก 24 คน จึงเรียกว่าทหารสองโหล” (ในเอกสารระบุว่ามหาดเล็กชุดนี้ ถือปืนชไนเดอร์) มีผู้บังคับหมู่ 1 คนชื่อนายเจียม มหาดเล็กข้าหลวงเดิม ภายหลังได้เป็นพระพรหมประสาทศิลป

มหาดเล็กเป็นตำแหน่งขุนนางฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ ยังไม่เคยฝึกหัดวิชาทหาร จึงให้นายดาบเล็กจากกรมทหารหน้านายหนึ่งมาเป็นครูฝึกหัดทหารแบบยุโรปให้กับมหาดเล็ก 24 คน เหมือนกับทหารหน้าจึงเป็นหมู่ทหารมหาดเล็กสองโหลขึ้นมาจริงจัง 1 หมู่

การที่ให้นายดาบเล็กจากกรมทหารหน้า มาเป็นครูสอนวิชาทหารในพระบรมมหาราชวัง ต่อมามหาดเล็กมีจำนวนมากขึ้น จึงตั้งโรงสอนวิชาทหารในกรมทหารมหาดเล็ก อยู่ในพระบรม-มหาราชวัง ภายหลังโรงสอนวิชาทหารดังกล่าวเจริญขึ้นเป็นโรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็ก รวมอยู่ในราชการทหารมหาดเล็ก เป็นโรงเรียนสอนวิชาทหารอย่างเดียว ไม่มีวิชาสามัญ(5)

2. ตั้งโรงสอนทหารมหาดเล็ก

.. 2413 - กำเนิดกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากเมืองสิงคโปร์และเมืองเบตาเวียแล้ว จึงเริ่มทดลองจัดราชการอย่างใหม่แบบตะวันตกขึ้น ในทหารสองโหล” (นับเป็นการทดลองจัดตั้งระบบราชการแบบตะวันตกเป็นครั้งแรก) ทรงยกกองทหารสองโหลตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษา

 

416 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 


416

 

 

417 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระองค์โดยเพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็ก จากการคัดเลือกมหาดเล็กที่เป็นข้าราชการหนุ่ม ๆ จำนวน 72 คน มารวมกับทหารมหาดเล็ก 2 โหล ตั้งเป็นกองทหารกองหนึ่ง เรียกว่ากองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นนายพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ด้วยพระองค์เอง และมีพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง - ชูโต) จางวางมหาดเล็ก เป็นนายพันโท ตำแหน่งรองผู้บังคับการกองฯ

พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง - ชูโต) จัดให้ครูฝึกจากกรมทหารหน้า มาฝึกทหาร สันนิษฐานว่า เนื่องจากต้องฝึกมหาดเล็กหนุ่ม ๆ ให้เป็นทหารจำนวนมาก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง - ชูโต) จางวางมหาดเล็ก จึงคิดจัดการตั้งโรงสอนทหารเพื่อความสะดวกเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ(6)

3. กำเนิดแบบเรียนหนังสือไทย

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.. 2414 ขุนสารประเสริฐ (น้อย อาจารยางกูร) ปลัดทูลฉลองกรมพระอาลักษณ์ คิดแบบเรียนหนังสือไทยในอัตราเก่า ทูลเกล้าฯ ถวาย(7)

1) มูลบทบรรพกิจ

2) วาหะนิตินิกร

3) อักษรประโยค

4) สังโยคพิธาน

5) พิศาลการันต์

ระยะที่ 2 พ.. 2414 - 2428 ทดลองจัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก

4. พระบรมราชโองการประกาศเรื่องโรงเรียน

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.. 2414 (ปีมแมตรีศก) มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องโรงเรียน

...ให้ประกาศแก่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงษ แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งได้นำบุตรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณในกรมมหาดเลกบ้าง ในกรมทหารมหาดเลกรักษาพระองค์บ้าง มีเปนอันมาก...บันดาที่เข้ามารับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่นั้น ที่ ยังไม่รู้หนังสือไทย แลขนบธรรมเนียมราชการโดยมาก ที่รู้อยู่บ้างแต่ยังใช้อักษรเอกโทแลตัวสกดผิด ๆ ไม่ถูกต้องตามแบบอย่างก็มีอยู่มาก แลการรู้หนังสือนี้ก็เปนคุณสำคัญข้อใหญ่ เปนเหตุจะให้ได้รู้วิชาแลขนบธรรมเนียมต่าง ๆ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโรงสอน ขึ้นไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง แล้วจัดคนในกรมอาลักษณ์ ตั้งให้เปนขุนนางพนักงานสำหรับ เปนครูสอนหนังสือไทย แลคิดเลข ขนบธรรมเนียมราชการ...ครูนั้นจะให้สอนโดยอาการเรียบร้อย

 

418 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ไม่ให้ด่าตีหยาบคาย...ถ้าท่านทั้งปวงได้ทราบหมายประกาศนี้แล้ว จงมีใจยินดีหมั่นตักเตือนบุตรหลานของท่านทั้งปวงให้เข้ามาฝึกหัดหนังสือไทย ถ้าเล่าเรียนได้ชำนาญในการหนังสือแล้ว ความดีงามความเจริญก็จะมีแก่บุตรหลานของท่านทั้งปวง...(8)

5. ตั้งโรงเรียนหลวง

.. 2414 มีการตั้งโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ และภาษาไทย

1. โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ เป็นโรงเรียนที่สอนวิชาความรู้ต่าง ๆ ด้วยภาษาอังกฤษ อยู่ในความปกครองของกรมทหารมหาดเล็ก มีครูฝรั่งชื่อ ฟรานซิส ยอร์ช แปตเตอร์ซัน โดยครูฝรั่งแต่งเครื่องยศทหารมหาดเล็ก แต่เปิดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป เพราะไม่มีผู้สมัครเรียน

2. โรงเรียนสอนภาษาไทย เป็นโรงเรียนที่สอนวิชาความรู้ต่าง ๆ ด้วยภาษาไทย อยู่ในความปกครองของกรมทหารมหาดเล็กเช่นกัน มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เมื่อครั้งยังเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นครู ในเบื้องต้นมีผู้สมัคร 10 คน ต่อมาภายหลังมีพระบรมวงศานุวงศ์ บุตรหลานราชตระกูล ขุนนาง มาเรียนต่อที่โรงเรียนนี้กันมาก เมื่อเรียนจบแล้ว ก็มักเข้ารับราชการที่กรมทหารมหาดเล็ก หรือกรมอื่น ๆ

6. โรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็ก

.. 2414 โปรดให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง - ชูโต) รองผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จัดการฝึกทหารให้กับมหาดเล็ก2 กองร้อย จำนวน 176 คนให้เป็นทหารมหาดเล็กและภายในปีเดียวกันได้ขยายเป็น 6 กองร้อย ๆ ละ 88 คน รวมจำนวนราว 528 คน สันนิษฐานว่าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง - ชูโต) ได้ใช้โรงสอนทหารทหารมหาดเล็กและเมื่อจัดมีพระบรมราชโองการประกาศจัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกแล้วโรงสอนทหารมหาดเล็กจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่าโรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็ก(9)

อนึ่งโรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็กจัดอยู่ในราชการทหารมหาดเล็ก มีหน้าที่ฝึกสอนเฉพาะวิชาทหารเพียงอย่างเดียว ไม่ได้จัดเป็นราชการโรงเรียน ไม่มีการสอนวิชาสามัญ จึงไม่ได้รวมอยู่ในบัญชีรายชื่อโรงเรียนต่าง ๆ ของแผนกโรงเรียน

7. อาจารย์สอนหนังสือไทย และสอนเลขทุกพระอาราม

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.. 2418 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จางวางกรมพระธรรมการมีหมายไปถึงพระราชาคณะและพระครูถานานุกรมเปรียญ ที่ได้รับนิตยภัตร์ในวัดเดิม วัดขึ้นคณะวัดบวรนิเวศ คณะใต้ คณะเหนือ คณะกลาง ว่า บิดามารดาที่ประสงค์ให้บุตรหลานของตนเล่าเรียนหนังสือ ตามแบบอย่างแต่ก่อน จึงพาบุตรหลานไปฝากฝังเป็นศิษย์วัด เด็กบางคนก็มีปัญญาเล่าเรียนก็ได้เรียน เด็กบางคนเกียจคร้านมัวแต่เล่น พระสงฆ์จะเฆี่ยนตีก็เกรงใจบิดามารดา นึกเสียว่าจะมิรู้ก็ช่างเปนไรมีพระราชดำริว่า สืบไปภายหน้ากุลบุตร์ผู้ที่จะเรียนรู้หนังสือไทย ลายมือ แลกระบวนเลขเสื่อมสูญไปสิ้นจึงมีพระบรมราชราชโองการสั่งให้พระราชาคณะและพระครูถานานุกรมเปรียญที่ได้รับนิตยภัตร์ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือไทยกระบวนเลขโหร และเลขตลาดตามแบบเก่า

 

419  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

การสอนหนังสือไทยแลกระบวนเลขโหรและเลขตลาดตามแบบเก่า หมายถึง การสอนตามแบบโบราณที่มีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเดิมพระภิกษุสงฆ์จะสอนวิชาให้แก่ผู้ใดก็ได้ หรือไม่สอนก็ได้ จึงมีพระบรมราชโองการประกาศเป็นกฎหมายบังคับให้พระภิกษุสงฆ์ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.. 2418 นับตั้งแต่นี้ไปจึงมีกฎหมาย กำหนดให้วัดเป็นสถานที่สอนหนังสือแบบเก่า

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.. 2428 มีการตั้งเป็นโรงเรียนพระอาราม ที่มีระบบการสอนแบบใหม่ ใน 30 ตำบลก่อน เพื่อทดลอง เมื่อประสบความสำเร็จ จึง ให้ตั้งโรงเรียนพระอาราม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีระบบตะวันตกทุกตำบลทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.. 2429(10)

8. ตั้งการสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ ณ ศาลาหน้าวัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม

.. 2425 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ทรงเป็นผู้รับพระบรม-ราชโองการ จัดการตั้งการสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ ณ ศาลาหน้าวัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ต่อมายกขึ้นเป็นมหาธาตุวิทยาลัย(11) (ดูเพิ่มเติมเหตุการณ์ลำดับที่ 30)

ระยะที่ 3 พ.. 2428 - 2430 ปฏิรูปโรงเรียนทั้งประเทศ

9. การปฏิรูปโรงเรียนของประเทศไทย ขั้นที่ 1

แต่งแบบเรียนเพิ่มเติมเพื่อใช้ในโรงเรียนแบบใหม่ และพระราชกระแสรับสั่งให้จัดทำสำเนาเรียบเรียงที่จะจัดการโรงเรียน (รายงานการปฏิรูปโรงเรียน)

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.. 2428 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก กราบบังคมทูลถวายรายงานเรื่องการจัดโรงเรียนแบบใหม่ ตามพระราชกระแสรับสั่งก่อนหน้าที่ให้เรียบเรียงแบบสอนวิชาต่าง ๆ เพื่อรองรับการจัดตั้งโรงเรียนแบบใหม่ที่จะขยายจัดตั้งเพิ่มมากขึ้น

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.. 2428

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบให้ฝ่าลอองธุลีพระบาท

พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ

ด้วย แบบสอนวิชาต่าง ๆ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พนักงานแบ่งกันไปเรียบเรียงนั้น บัดนี้ก็จวนจะถึงกำหนดที่หนังสือเหล่านั้น จะสำเหร็จบริบูรณ์แล้ว

ข้าพระพุทธเจ้า เหนด้วยเกล้าฯ ว่า การที่จะจัดทำต่อไปนั้น คือ จะต้องตั้งแบบแผนแลอัตราโรงเรียน สำหรับที่จะใช้แบบเรียนเหล่านั้น

 

420 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ก็เปนการสำคัญอยู่ เพราะจะต้อง ตั้งแบบสอนให้ เปนตำราอันเดียวกันทุก ๆ โรงเรียน

อีกประการหนึ่งโรงเรียนสุนันทาลัย ที่จะจัดเป็นโรงเรียนใหญ่ (ยุนิเวอสิตี) นั้น ก็เป็นการสำคัญที่จะต้องคิดให้มีนักเรียนซึ่งมีความรู้ในวิชาชั้นต้นให้ภอกับที่จะเรียนในโรงเรียนนั้นก่อน

เพราะฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าจึ่งเหนด้วยเกล้าฯ ว่า ในเวลานี้ควรจะคิดจัดโรงเรียนสำหรับสอนวิชาชั้นต้นขึ้น แลคิดตั้งธรรมเนียมเปิดการเล่าเรียนให้ได้ประโยชน์ถึงราษฎรด้วย ทั้งแบบแผนที่จะสอนก็ให้ใช้แบบเดียวกันทั้งสิ้น...

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า ดิศวรกุมาร

(พระราชกระแสรับสั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

...รูปการนั้นดีแล้ว แต่ที่เกนให้ฉเพาะสมภารเปนผู้รับผิดรับชอบฉเพาะตัวไปทีเดียว การจะเปนที่ร้อนใจมากเกินไป จนเปนทำให้เดือดร้อนในการที่ใช่กิจสมณะ เปนที่...ไปได้อย่างหนึ่ง...ผู้ใดผู้หนึ่งแทนก็จะได้ดอกกระมัง แลที่ปักน่าที่เปนของใบฎีกานั้น ควรจะเปนถานาผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเปน...กำกับสกูล หาไม่ ดูใบฎีกาไป...เฉพาะได้นิจภักตร์...

...ที่ว่าด้วย...ให้แก้ไขเรียบเรียงวิธีขึ้น(12)

10. สำเนาเรียบเรียงที่จะจัดการโรงเรียน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.. 2428 กอมมิตตี กราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายสำเนาเรียบเรียงที่จะจัดการโรงเรียน(13) ซึ่งเป็นโครงการวางแผนปฏิรูประบบการศึกษาสำหรับประเทศไทย มีการวางแผนไว้ ดังนี้

() จัดตั้งโรงเรียนแบบตะวันตก โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

(1) โรงเรียนสามัญ

(2) โรงเรียนวิเสศ

(3) โรงเรียนสอนวิชาชั้นสูง

() จัดตั้ง 30 โรงเรียนใน 30 ตำบล

() จัดทำโครงสร้างอัตรากำลังของโรงเรียนและอัตราเงินเดือน

() กำหนดอัตราอาจาริย์ต่อนักเรียน คือ 1 ต่อ 30

() ให้เรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน หนังสือ กระดานชนวน เครื่องเรียน เป็นของหลวง หรือเป็นของผู้บำรุงโรงเรียน

() ให้พระบรมวงศานุวงษ์ ข้าราชการ เจ้าอาวาส มีหน้าที่ช่วยเหลือจัดการโรงเรียน

() โรงเรียนพระอารามหลวงให้เจ้าอาวาสเป็นผู้รับผิดชอบ และหากมีนักเรียนเกิน 200 คน จะมีความดีความชอบได้เลื่อนสมณศักดิ์

 

421 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

() โรงเรียนชั้นตั้น ได้แก่ โรงเรียนพระอารามหลวง และโรงเรียนวิเสศ

() โรงเรียนชั้นสูง (ยูนิเวอสิตี) ได้แก่ โรงเรียนสุนันทาไลย ประกอบด้วย

1. โรงเรียนหนังสือไทย

2. โรงเรียนธรรมและโรงเรียนบอกพระคัมภีร์

3. โรงพิมพ์และหอสมุด

11. ตั้งโรงพิมพ์ สำหรับพิมพ์หนังสือและแบบเรียน

วันที่ 11 สิงหาคม พ.. 2428 ตั้งโรงพิมพ์หลวงเพิ่มอีก 1 โรง ชื่อสึกสาพิมพ์การสำหรับพิมพ์หนังสือและแบบเรียน(14)

12. หมอวิลลิศ เสนอขอสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตก ครั้งที่ 1

วันที่ 13 สิงหาคม พ.. 2428 นายพันโท พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก กราบบังคมทูลเรื่อง หมอวิลลิศเสนอว่า จะสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตกแบบให้เปล่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหัตถเลขาตอบว่า ออกไม่ใคร่เชื่อว่าจะสอนสำหรับเปล่าทำไม แต่ที่สอนไว้นั้นดีมาก(15)

13. รายงานโรงเรียน ฉบับที่ 1

วันที่ 17 สิงหาคม พ.. 2428 รายงานโรงเรียน ฉบับที่ 1 ระบุว่า

...จำนวนโรงเรียนที่อยู่แล้วก่อนเดือนเจด(16) 9 แห่ง คือ โรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง 2 แห่ง โรงเรียนนันทอุทยานแห่ง 1 โรงเรียนในพระอารามแขวงกรุงเทพ 4 แห่ง โรงเรียนในพระอารามแขวงกรุงเก่าแห่ง 1 โรงเรียนในพระอารามเมืองสมุทรปราการแห่ง 1

ในเดือนเจดได้ตั้งโรงเรียนขึ้นอีก 10 แห่ง คือ โรงเรียนในพระอารามแขวงกรุงเทพ 7 แห่ง กรุงเก่ารวม 3 แห่ง รวมทั้งเก่าใหม่เป็นโรงเรียน 19 แห่ง...(17)

14. ตั้งสมุหบัญชีและผู้ตรวจราชการโรงเรียน (Inspector)

วันที่ 9 กันยายน พ.. 2428 แผนกโรงเรียน กรมทหารมหาดเล็ก ตั้งสมุหบัญชี และผู้ตรวจราชการโรงเรียน (Inspector)(18)

15. สอบไล่นักเรียนครั้งแรก

วันที่ 5 ธันวาคม พ.. 2428 เริ่มต้นสอบไล่นักเรียนเป็นครั้งแรก ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

มีหลักสูตรเรียนภาษาไทยแบบ 2 ประโยค และมีการออกกฎหมายการสอบเพื่อจบการศึกษา(19)

 

422 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

16. ประกาศหลักสูตรการศึกษา 3 ประเภท

วันที่ 23 มกราคม พ.. 2429 ประกาศหลักสูตรการศึกษา 3 ประเภท(20) ได้แก่

1) หลักสูตรนักเรียนภาษาไทย

1. หัดอ่านและแปล

2. หัดลายมือ

3. เรียนสะเปล

4. เรียนวิชาเลข

5. เรียนวิชาภูมิศาสตร์

6. เรียนแกรมเมข (แกรมม่า)

2) หลักสูตรนักเรียนภาษาอังกฤษ

1. หัดอ่านและแปล

2. หัดลายมือ

3. เรียนสะเปล

4. เรียนวิชาเลข

5. เรียนวิชาภูมิศาสตร์

6. เรียนแกรมเมข (แกรมม่า)

3) หลักสูตรนักเรียนแผนที่ทหาร รับนักเรียน 50 คน

1. หัดเลขอย่างสูงสำหรับใช้ในการวัดแดดดาว 1

2. หัดเขียน 1

3. หัดวิชาหนังสือไทย 1

4. หัดทำแผนที่ 1

17. ประกาศการสอบไล่หนังสือตามหลักสูตรประโยคต้นและประโยค 2

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.. 2429 เรื่อง ประกาศในการสอบไล่หนังสือ ให้ตั้งแบบเรียนหลวงสำหรับสอบไล่หนังสือไทย และให้มีข้าหลวงเป็นพนักงานสอบไล่หนังสือปีละ 1 ครั้งเสมอไป(21)

หลักสูตรมี 2 ประโยค ได้แก่

1. ชั้นประโยคต้น มี 6 วิชา

ตั้งแต่มูลบทบรรพกิจจนจบพิศาลการันต์

2. ชั้นประโยคสอง มี 8 วิชา

() ลายมือหวัดและบรรจง

() เขียนหนังสือใช้ตัววางวรรคถูกตามใจความไม่ต้องดูแบบอย่าง

() ทานหนังสือที่ผิด คัดจากลายมือหวัด

() คัดสำเนาและย่อใจความ

() แต่งจดหมาย

() แต่งแก้กระทู้ความร้อยแก้ว

() เลข

() ทำบัญชี

 

423 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

18. จัดตั้งแบบแผนการจัดการศึกษาในโรงเรียน ระเบียบและวิธีการสอบไล่ประโยคต้นและประโยค 2

วันที่ 12 เมษายน พ.. 2429 จัดตั้งแบบแผนการจัดการศึกษาในโรงเรียน(22) หมายถึง ระบบบริหารจัดการโรงเรียน โดยตั้งแบบแผนการจัดการศึกษาในโรงเรียน แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

() ข้าหลวง (คอมมิชันเนอ)

() แพนก 1 พนักงานไล่ (แอกแซมมิเนอ) แพนก 1

(รายชื่อ) ข้าหลวง

1) กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส

2) พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ

3) พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร

4) พระองค์ศรีเสาวภางค์

4) พระยาศรีสุนทรโวหาร

(รายชื่อ) พนักงานไล่

1) พระพินิจวินัย

2) พระผดุงสุลกกฤต

3) ขุนนิพนธ์ไพเราะ

4) ขุนวรการโกศล

...อนึ่งการไล่หนังสือ (การสอบไล่) เมื่อปีรกาสัปตศก(23) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีข้าหลวง 5 คน

 เป็นพนักงานไล่ การครั้งนั้นเป็นคราวแรกพึ่งจะคิดจัดการจึ่งยังไม่ใคร่เรียบร้อย ดูเป็นที่หนักแรงข้าหลวงอยู่มาก ถ้าโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็น 2 แผนก

คือ ข้าหลวง (คอมมิชันเนอ) แพนก 1 พนักงานไล่ (แอกแซมมิเนอ) แพนก 1

- ข้าหลวง มีพนักงานที่จะตัดสินว่าผู้ใดสอบไล่ได้แลไม่ได้ แลเปนพนักงานที่จะบังคับสิทธิ์ขาดในการไล่หนังสือ

- ส่วนพนักงานไล่ นั้นเป็นพนักงานสำหรับแจกประโยค ควบคุมนักเรียน แลเป็นผู้ตรวจผิดชอบหนังสือที่นักเรียนทำด้วย

อย่างนี้คงจะเรียบร้อยเปนแบบแผนต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า ดิศวรกุมาร

 

424 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

วิธีการสอบ ประโยคต้น(24)

ข้อสอบ

แต่งคำถามเลือกเอาตามแบบเรียนใน

1. มูลบทบรรพกิจ ข้อ 1

2. วาหนิติ์นิกร ข้อ 1

3. อักษรประโยค ข้อ 1

4. สังโยคพิธาน ข้อ 1

5. ไวพจน์พิจารณ ข้อ 1

6. พิศาลการันต์ ข้อ 1

รวม 6 ข้อ

วิธีการสอบ

ผู้เป็นประโยค 1 ให้นักเรียนจับฉลากตามแต่จะถูกประโยคใด

ต้องเขียนคำตอบให้แล้วเสร็จภายใน 3 ชั่วโมง

วิธีการสอบ ประโยค 2

วิธีการสอบ

1. จัดหนังสือพงษาวดารเปนแบบอ่านให้นักเรียนเขียนตามคำบอก

2. จัดใบบอกในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเปนสำเนาให้ย่อความและคัดสำเนาความ

3. จัดใบบอกของเก่า ๆ ที่เขียนด้วยเส้นดินสอบนกระดาษเพลาเปนแบบให้ทานหนังสือผิด

4. ได้แต่งกระทู้แซงชั่นฎีกาเบิกเงินแลบัญชี เปนแบบไล่ในการทำบาญชี

5. คัดสำเนาความให้แต่งจดหมาย

6. แต่งกระทู้เป็นข้อถามให้เรียงความ

7. วิชาเลขได้ไล่เพียงแต่โจทยตลาด

เงื่อนไข

ลายมือหวัดบรรจงไม่ได้กะเรื่องให้เขียน เป็นแต่กำหนดบรรทัดและกำหนดเวลาให้พอสมควร

ข้อจำกัด

การไล่วิชาชั้นประโยค 2 ในปีนี้ยังหาสู้จะเรียบร้อยไม่ เพราะวิธีสอน

 

425 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ยังไม่ตั้งลงเปนแบบได้ ทั้งอาจาริย์แลนักเรียนก็ยังไม่เข้าใจวิธีไล่ แต่การที่ยังไม่เรียบร้อยนี้ก็เปนโดยธรรมดาของการครั้งแรก เมื่อได้ตั้งลงเปนแบบเช่นนี้แล้ว ในคราวน่าเหนด้วยเกล้าฯ ว่าคงจะเปนแบบแผนเรียบร้อยต่อไป

19. การปฏิรูปโรงเรียนของประเทศไทย ขั้นที่ 2 จัดตั้งโรงเรียนพระอารามในวัดทุกตำบลทั่วประเทศ

วันที่ 16 ตุลาคม พ.. 2429 เริ่มต้นการขยายการศึกษาชั้นต้นออกไปสู่ราษฎร โดยจัดตั้งโรงเรียนพระอารามในวัดทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ กราบบังคมทูลถวายรายงาน ดังนี้

1) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงวิเคราะห์การจัดการปฏิรูปโรงเรียน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.. 2428 ถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.. 2429 ดังนี้

1) โรงเรียน (รร.สามัญและ รร.วิเสศ) ที่จัดตั้งขึ้น 30 ตำบล เป็นโรงเรียนสอนวิชาสำหรับผู้มีตระกูลโรงเรียนที่สอนราษฎรโดยแท้มีเพียงแห่งเดียว คือ โรงเรียนที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ สาเหตุเป็นเพราะว่า ราษฎรไม่รู้คุณของการโรงเรียน และไม่นิยมการเล่าเรียนอยู่เป็นพื้น

2) ความหวาดหวั่นของราษฎรเป็นข้อขัดขวางสำคัญ (กลัวการเป็นทหาร)

3) ฝ่ายการที่จะจัดพนักงานออกตรวจตราก็เป็นการใหม่อยู่ทั้งสิ้น คงจะยังไม่ทำการได้ถูกถ้วนเต็มที่

4) อาจารย์ที่จะตั้งออกไปฝึกสอนวิชาก็หายาก ไม่ใคร่มีพอครบจำนวน

5) และในอย่างที่สุด ความเห็นที่จะจัดโรงเรียนทั้งปวง ก็ยังตกอยู่ในระหว่างการคาดคะเนข้าพระพุทธเจ้ายังไม่เป็นที่มั่นใจว่าจะสำเร็จตลอดไปได้ดังความคิดนั้นฤๅไม่ ด้วยเหตุเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งเห็นด้วยเกล้าว่า สมควรจะกำหนดไว้แต่น้อย ค่อยจัดพอตั้งเป็นเค้ามูลไปก่อนแล้วจึ่งค่อยคิดขยายออกไปตามสมควรแก่การแลเวลา

2) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายสาเหตุการคิดขยายการจัดการศึกษาออกไปอย่างกว้างขวาง

...เพราะฉนั้นข้าพระพุทธเจ้าจึ่งเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเป็นการสมควรจะคิดจัดการขยายออกไปได้อีกด้วยเหตุต่าง ๆ คือ

1. โรงเรียนสำหรับสอนหนังสือราษฎรซึ่งได้ตั้งไว้แล้ว ยังไม่พอที่ราษฎรจะเล่าเรียน เพราะตั้งเป็นแห่ง ๆ ห่างกัน ราษฎรที่อยู่ใกล้เขตโรงเรียนก็ได้เล่าเรียน ที่อยู่ห่างไกลออกไป ก็ไม่ได้เข้าเล่าเรียน

 

426 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

2. โดยธรรมดาราษฎรตามหัวเมืองที่ได้เล่าเรียนหนังสือนั้นก็มักเล่าเรียนในสำนักพระสงฆ์ตามวัดเป็นพื้น วิชาหนังสือที่สอนตามวัดก็เป็นแค่ ก ข้ ก กา อยู่เกือบทุกแห่ง ถ้าหนังสือไทยแบบหลวงยังไม่แพร่หลายออกไป ราษฎรก็จะต้องเล่าเรียนไปตามแบบที่ผิดอยู่นั้นเป็นปกติ

3. โรงเรียนสอนวิชาชั้นสูงซึ่งจะตั้งขึ้นนั้น กำหนดต่อผู้เล่าเรียนมีความรู้ตลอดในวิชาโรงเรียนชั้นต่ำนี้แล้ว จึ่งจะเข้าเป็นนักเรียนได้ เพราะเหตุนั้น ถ้าโรงเรียนชั้นต่ำยังมีน้อยอยู่ นักเรียนที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนชั้นสูงคงมีน้อยนัก

4. โรงเรียนสอนหนังสือราษฎรในประเทศอื่น ๆ (ตามที่ข้าพเจ้าในตรวจดูในหนังสือต่าง ๆ**) มีเมืองยี่ปุ่นเป็นต้นมีจำนวนถึง 29041 โรง แต่เมืองยี่ปุ่นมีธรรมเนียมบังคับให้ราษฎรเรียนหนังสือทุกคน แลเมืองอินเดีย (ดูเหมือน) ไม่ได้มีกฎหมายเช่นนั้น แต่ยังมีโรงเรียนถึง 92931 โรงในประเทศเหล่านี้ คงจะได้ตั้งโรงเรียนตลอดทุกแขวงทุกอำเภอจึ่งได้มีจำนวนโรงเรียนมากถึงเช่นนี้....เมืองสิงคโปร์ยังมีถึง 70 กว่าแห่ง...

** หมายเหตุ

หนังสือที่กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจ 3 เล่มได้แก่

1) หนังสือว่าด้วยการศึกษาเมืองญี่ปุ่น

2) หนังสือ Statement Year Book 1884 หน้า 772

3) หนังสือ Singapore Directory 1882, Appendix K

3) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายวิธีการขยายการศึกษาไปสู่ราษฎรทั่วประเทศ ดังนี้

...ควรจะตั้งโรงเรียนสอนหนังสือราษฎร (โรงเรียนสามัญ) ขยายให้แพร่หลายมากออกไป โดยที่สุด (ซึ่งไม่กำหนดเวลาได้ว่าจะช้าเร็วเพียงใด) จนให้มีอยู่ทุกแขวงทุกอำเภอซึ่งเป็นอันบริบูรณ์เต็มที่ที่ข้าพระพุทธเจ้ากำเช่นนี้เป็นแต่กะกำหนดการเมื่อบริบูรณ์เต็มที่เหมือนกับกะโปรแกรม...

การที่จะจัดจะทำไปต้องอาไศรยค่อยจัดค่อยขยายออกไปทีละน้อยสักแต่ให้เดินไปทางนั้น แล้วแต่จะสำเร็จเมื่อใดก็ตาม การที่จะจัดโรงเรียนสอนหนังสือราษฎรให้แพร่หลายออกไปเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า จำเป็นต้องอาศัยตั้งขึ้นตามวัดอย่างที่ตั้งมาแล้ว เพราะการตั้งโรงเรียนสอนหนังสือราษฎรขึ้นตามวัดดีกว่าตั้งที่อื่นหลายประการ คือ

1) วัดโดยปรกติก็มีอยู่ทุกแขวงทุกอำเภอทั้งในกรุงแลหัวเมือง ถ้าโดยตั้งขึ้นได้ทั่วทุกวัดก็เหมือนกับตั้งขึ้นทุกแขวงทุกอำเภออยู่เอง

 

427 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

2) ปรกติวัดคงมีศาลาเป็นที่ตั้งโรงเรียนได้ทุกแห่ง ไม่ต้องลงทุนก่อสร้างโรงเรียน

3) เป็นประเพณีของราษฎรสืบมามักเอาบุตรหลานไปฝากฝังในสำนักพระสงฆ์ตามวัดเพื่อเป็นศิศยหาให้เล่าเรียนวิชาฝ่าพระสงฆ์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยศิศยในกิจต่าง ๆ ก็เพราะเหตุนี้

4) การโรงเรียนเป็นที่ตั้งของขนบธรรมเนียมความเรียบร้อย ถ้าได้ตั้งอยู่ในวัดก็คงมีอานิสงฆ์ที่สามารถจะให้ขนบธรรมเนียมของวัดนั้นเรียบร้อยขึ้นได้บ้าง ฤๅกีดกันสิ่งลามกที่จะมีจะเป็นอยู่ในวัดนั้นให้เบาบางลงไป

4) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ กราบบังคมทูลฯ ถวายความเห็น 6 ข้อ สรุปย่อไว้ดังนี้

1) ขยายการจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองก่อน เพราะในกรุงมีมากแล้ว

2) แจ้งพระสงฆ์ให้ทราบว่า ให้ใช้แบบเรียนหลวงสอนในโรงเรียน

3) ให้วัดทำรายงานเสนอเข้ามา และให้เจ้าคณะช่วยเป็นธุระตรวจตรา

4) เมื่อผู้เรียนและผู้เรียนเข้า มีความมั่นคงแล้ว ให้แจกแบบเรียนอื่น ๆ ได้ และทำรายงานการศึกษาเป็นทางการ

5) พระสงฆ์สอยตามแบบเรียนหลวงอาจผิด ๆ ถูก ๆ ไม่ต้องเลิก ให้สอนไปก่อน ให้โรงเรียนหลวงตามวัดที่มั่นคง เป็น Normal School คือ โรงเรียนสำหรับหัดครู

6) ให้ศิศย์ที่เรียนในโรงเรียนชนิดนี้สอนวิชาเฉพาะสำหรับไปเป็นครูตามวัดอื่น เบื้องต้นพระสงฆ์ที่เป็นครูไม่ต้องจ่ายเงินเดือน แต่ครูที่จบจากโรงเรียนสำหรับหัดครู ให้จ่ายเดือน ๆ ละ 6 ตำลึง 8 เฟื้อง

5) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงสรุป ตอนท้ายหนังสือกราบบังคมทูล ดังนี้

...ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าซึ่งทูลเกล้าถวายชั้นนี้

เป็นแต่จะจัด โรงเรียนสอนวิชา อ่าน, เขียน, เลข,

ซึ่งเป็นวิชาชั้นต้นสำหรับฝึกสอนราษฎร เป็นสาธารณทั่วไป

มิได้เกี่ยวข้องถึงโรงเรียนชั้นสูงอย่าง...

ข้าพระพุทธเจ้า ดำรงราชานุภาพ(25)

20. ปฏิรูปหลักสูตรเรียน จัดตารางเรียน แบ่งประเภทนักเรียนตามความรู้ความสามารถ จัดทำระเบียบกฎหมายของแผนกโรงเรียนในกรมทหารมหาดเล็ก

วันที่ 22 ตุลาคม พ.. 2429ปฏิรูปหลักสูตรเรียนดังลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้

1) กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ กราบบังคมทูลฯ เรื่องแนวทางดำเนินการ(26)

...การที่ได้รับพระราชทานจัดขึ้นในระหว่าง 3 เดือนนี้ ที่เป็นสิ่งสำคัญคือ ได้แก้ไขวิธีสอนหนังสือไทยอย่างหนึ่ง ด้วยการสอนวิชา

 

428 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

หนังสือไทยในโรงเรียนน้อยใหญ่แต่ก่อนอาจาริย์ได้สอนกันยังไม่ใคร่จะเรียบร้อย ศิศย์ไม่ค่อยจะมีความรู้กว้างขวางเพราะวิชาที่สอนมีแต่วิชาหนังสืออย่างเดียว แลยังไม่ค่อยเรียบร้อยด้วยเหตุอื่นอีกหลายอย่าง

ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งได้คิดแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีสอนเป็นแบบอย่างใหม่ขึ้น

- ฝึกสอนให้นักเรียนมีความรู้ในวิชาต่าง ๆ มีเลข และวิชาแต่งหนังสือ เป็นต้น ให้กว้างขวางอย่าง 1

- สั่งสอนศาสนาแลธรรมให้มีความรู้ในการประพฤติความดีแลรักษาความเรียบร้อย อย่าง 1

- ตั้งธรรมเนียมด้วยแบ่งเวลาแลวิชาฝึกสอนให้นักเรียนมีความอุตสาหะพากเพียรไม่เบื่อหน่าย ในการเล่าเรียนอย่าง 1

- แบ่งชั้นปันกำหนดนักเรียนตามความรู้ที่ยิ่งแลหย่อนเพื่อจะให้นักเรียนที่มีปัญญาโฉดเขลา ได้มีความรู้พอคล้อยกับนักเรียนทั้งปวง ได้อย่าง 1

ข้าพระพุทธเจ้า ดำรงราชานุภาพ

2) หลักสูตรเรียน อัตราแบบสอนอย่างเก่า และอัตราแบบสอนอย่างใหม่

2.1 การเล่าเรียนวิชาที่ได้จัดไว้เป็นอัตราในแบบสอนอย่างเก่า (เดิมเป็นความต่อเนื่องกัน ผู้เขียนจึงจัดหน้าใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น)

โรงเรียนหนึ่งจัดนักเรียนแบ่งเป็นพวก ๆ ละ 3 ชั้นตามความรู้

(1) นักเรียนเข้าใหม่ อ่านหนังสือไม่ออก ให้เรียนมูลบทเป็นชั้นต้นแต่พออ่านหนังสือได้เขียนได้บ้าง

นักเรียนพวกนี้แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ

1) เรียนมูลบทตอนต้นเป็นชั้น 1

2) เรียนมูลบทตอนกลางเป็นชั้น 2

3) เรียนมูลบทตอนปลายเป็นชั้น 3

(2) นักเรียนที่เรียนจบมูลบทแล้วให้เข้าเรียนวิชาในพวกที่ 2 ต่อไป

พวกนี้แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ

1) ชั้น 1 คือ พวกที่เรียนมูลบทครั้งหนึ่งแล้ว กลับเรียนมูลบทใหม่สอบไล่โดยเลอียดจนจบ

2) ชั้น 2 เรียนวาหนิติ์นิกรจนจบ

3) ชั้น 3 เรียนเกษรประโยคจนจบ

(3) นักเรียนที่เรียนอักษรประโยคจบแล้ว ให้เข้าเรียนในพวกที่ 3 ต่อไป แบ่งเป็น 3 ชั้น

1) ชั้น 1 เรียนสังโยคพิธานจนจบ

 

429 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

2) ชั้น 2 เรียนไวพจนพิจารณ์จนจบ

3) ชั้น 3 เรียนพิศาลการันต์จนจบ

2.2 การเล่าเรียนวิชาที่ได้จัดไว้เป็นอัตราในแบบสอนอย่างใหม่

ประโยคหนึ่ง

1) เขียนลายมือตัวหวัด / ตัวบรรจง ด้วยเส้นหมึก / ดินสอ

2) ทำเลข บวก ลบ คูณ หาร ตามวิธี (แปลจากหนังสืออังกฤษ)

3) อ่านหนังสือเรื่องต่าง ๆ เมื่อเวลาก่อนเขียน

4) เขียนหนังสือเรื่องใดที่อ่านแล้วเป็นลายมือหวัด

5) หัดเรียงความเป็นเรื่องต่าง ๆ

6) ต่อหนังสือเรียนไปท่อง

7) สอนหนังสือเรื่องกิจจานุกิจ (เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ แต่ง)

8) ปกิรณกะว่าด้วยคุณวิชาต่าง ๆ (กรมหมื่นดำรง แต่ง)

ประโยคสอง

1) เขียนลายมือตัวหวัด / ตัวบรรจง ด้วยเส้นหมึก / ดินสอ ให้เขียนเร็วด้วย

2) อ่านหนังสือเรื่องต่าง ๆ เป็นใจความที่จะให้เรียงความ

3) แต่งเรียงความตามเรื่องที่อ่าน

4) ทำเลข ตามโจทยต่าง ๆ

4) เรียนภาษมคธ

5) ทำบาญชีต่าง ๆ

7) สอนกิจจานุกิจ

8) อ่านศับทต่าง ๆ

9) เขียนแปลแก้ศับท

10) ทานหนังสือผิด

11) สอนปกิรณกะ

12) แต่งร่าย, โคลง, ฉันท์, บทกลอนต่าง ๆ

3) เครื่องเกื้อกูลการเล่าเรียน

1) เทศนา

ณ วันที่ 5 ฤๅที่ 6 ฤๅที่ 7 ของวันเรียน (คือในวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันพระที่ต้องหยุดการเรียนเป็นธรรมดานั้น) มีพระสงฆ์เทศนาเวลาก่อนเข้าเรียนวันละทุก ๆ วัน

2) เล็กเชอร์

เมื่อ ณ วันที่ 1 แลที่ 4 ของวันเรียน ท่านผู้ที่มีความรู้เรียบร้อยถูกต้อง ตามแบบที่ได้ตั้งไว้อย่างใหม่ได้

 

430 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

21. จัดธรรมเนียมตั้งขึ้นสำหรับออฟฟิศโรงเรียน

22 ตุลาคม พ.. 2429 ปรับปรุงโครงสร้างแผนกการโรงเรียน กรมทหารมหาดเล็ก(27)

แบ่งการทั้งปวงในออฟฟิสโรงเรียนออกเป็น 4 กระทรวง คือ

1. กระทรวงเลขาธิการ มีเจ้าพนักงาน 1 เสมียน 2

มีการในน่าที่คือ

- สำหรับ มี/รับ/เก็บจดหมายที่ไปมาทั้งปวง

- เก็บ/หา บาญชีคน

- ตรวจการเล่าเรียน / โรงเรียน

2. กระทรวงเหรัญญิก มีเจ้าพนักงาน 1 เสมียน 1 การในน่าที่ คือ

- เบิกเงินเดือน/เงินใช้ต่าง ๆ ในกรมโรงเรียน

- จ่ายเงินเดือน/เงินใช้ต่าง ๆ ในกรมโรงเรียน

- เก็บ/หา บาญชีเงิน

3. กระทรวงบรรณารักษ์ มีเจ้าพนักงาน 1 เสมียน 2 การในน่าที่ คือ

- เก็บ/จ่าย เครื่องใช้ในการเล่าเรียน

- รักษา/ทำ บาญชีเครื่องใช้ในการเล่าเรียน

- คัดลอกแลเรียบเรียง ถกแต่งแบบเรียน

4. กระทรวงสารานิยกร มีเจ้าพนักงาน 1 เสมียน 2 การในน่าที่ คือ

- จดหมายเหตุแลเรียบเรียงรีโปดที่จะทูลเกล้าฯ ถวาย

- เก็บรีโปดทั้งปวง

- การทั้งปวงที่เกี่ยวกับโรงพิมพ์

- รวบรวมประกาศแลกฎหมายในกรมโรงเรียน

22. ประกาศกำหนดหน้าที่ของอินสเป็คเตอร์ นักการตรวจโรงเรียน (School Inspector)

วันที่ 22 ตุลาคม พ.. 2429 ประกาศกำหนดหน้าที่ของอินสเป็คเตอร์นักการตรวจโรงเรียน (School Inspector)(28) ดังนี้

1. ตรวจจำนวนนักเรียน คงเรียนแลจำหน่ายตามเคยทำแล้ว

2. ตรวจดูเด็กนักเรียน ว่าสอาดเรียบร้อยตามข้อบังคับอาจาริย์หรือไม่

3. ตรวจดูว่าอาจาริย์ เป็นธุระว่ากล่าวให้เด็กมีกิริยาอาการเรียบร้อยถูกต้องตามข้อบังคับหรือไม่

4. ตรวจดูว่าอาจาริย์บังคับบัญชาสั่งสอนศิศย์ด้วยกิริยาอาการอันสมควรหรือไม่ แก่ลักษณผู้เป็นอาจาริย์หรือไม่

5. ตรวจดูอาจารย์ใช้วิธีสอน แลสอนถูกต้องถ้วนถี่หรือไม่

6. ตรวจดูว่าโรงเรียนใดเด็กนักเรียนช้าฤๅเรียนปานกลางฤๅเรียนเร็วผิดกันอย่างไร

7. ตรวจดูของหลวงที่จ่ายไป ใช้ในการเล่าเรียนตามโรงเรียนว่า จะรักษาของเหล่านั้น ตามสมควรฤๅไม่

 

431 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

8. ตรวจดูว่า โรงเรียนสอาดเรียบร้อยฤๅไม่

9. ตรวจดูชำรุดปรักหักพังของโรงเรียนว่า ควรแก้ไขซ่อมแซมประการใด

10. ถ้ามีคำสั่งฤๅประกาศด้วยการณ์อันใดออกไปจากออฟฟิซ ต้องตรวจดูว่าการจะเป็นไปตามคำสั่งฤๅประกาศนั้นฤๅไม่

23. หมอวิลลิศ เสนอขอสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตก(29) ครั้งที่ 2

วันที่ 15 ธันวาคม พ.. 2429 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก กราบบังคมทูลเรื่องการฝึกหัดวิชาหมอของหมอวิลลิศ ดังนี้

...ด้วยหมอวิลเลียม วิลลิศ ซึ่งเป็นหมอรับราชการ ณ สำนักราชทูตอังกฤษ ขึ้นมาหาข้าพระพุทธเจ้า แล้วมอบจดหมายขอให้ข้าพระพุทธเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายฉบับ 1 ใจความว่า หมอวิลลิศจะยอมรับฝึกสอนผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งเคาเวอนเมนต์สยามจะจัดให้เล่าเรียนวิชาหมอให้ชำนิชำนาญ...(ต้นฉบับเลือน)...พระราชทานเป็นเงินเดือนค่าฝึกสอนตามสมควร เนื้อความแจ้งอยู่ในต้นจดหมายของหมอวิลลิศซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอดผนึกทูลเกล้าฯ ถวายแล้วนั้น

การเรื่องนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าว่า ซึ่งจะได้ฝึกหัดให้ไทยชำนิชำนาญวิชาหมอฝรั่งนั้น เป็นการประกอบด้วยประโยชนเป็นอันมากโดยไม่ต้องสงไสยเลย เว้นแต่จะฝึกหัดตามเช่นหมอวิลลิศรับนี้ ฤๅจะฝึกหัดได้ด้วยอย่างอื่นประการใดนั้น ไม่เป็นกำหนด สักแต่ว่าได้ฝึกหัดแล้วคงเป็นคุณอย่างยิ่ง...

หนังสือหมอวิลลิศมีใจความสำคัญดังนี้

…Should be induced to undertake the study of modern surgical science and medical science in the hope of future for curable and profitable employment in the service of their country…

William Willis, M.D. FRCS

Doctor of Medicine of the University of Edinburgh

Fellow of the Royal College of Surgeons of England…

ในครั้งนี้หมอวิลลิศได้ขอพระราชทานเงินเดือนค่าจ้างด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่มีการว่าจ้างหมอวิลลิศ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลให้มีขึ้นสำหรับพระนคร ขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.. 2430 จึงมีการจัดสร้างโรงพยาบาลใหญ่ ณ วังหลัง (ภายหลังได้รับพระราชทานนามว่าโรงศิริราชพยาบาล”)

 

432 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

และมีการจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาแพทย์แบบตะวันตกขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศ ได้รับพระราชทานนามว่า โรงเรียนแพทยากร ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัย ปัจจุบันคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะที่ 4 หลังจาก พ.. 2430 (หลังจัดตั้งกรมศึกษาธิการ)

24. จัดตั้งกรมศึกษาธิการ

วันที่ 8 เมษายน พ.. 2430 แยกกรมโรงเรียนออกจากกรมทหารมหาดเล็ก จัดตั้งเป็นกรมศึกษาธิการให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเปนผู้กำกับการกรมศึกษาธิการ ตามที่ปรากฏในหนังสือกราบบังคมทูลเรื่องการจัดตั้งกรมศึกษาธิการ(30) ดังนี้

...มาบัดนี้ พอมีราชการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะให้จัดการทหารทั้งปวงขึ้น การโรงเรียนทั้งปวงบางอย่าง ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในการทหาร จึ่งเป็นเหตุซึ่งจำเป็นในส่วนน่าที่ของการเล่าเรียน จะต้องคิดอ่านรีบจัดการบางอย่างนั้นให้สำเร็จเสียก่อน ที่จะจัดการเล่าเรียนเพิ่มเติมได้

การโรงเรียนทั้งปวง แต่แรกเมื่อทรงพระราชดำริห์ให้ข้าพระพุทธเจ้าจัดการขึ้นนั้น ต้องจัดการอาไศรยอยู่กับกรมทหารมหาดเล็กแทบทุกอย่าง...

จนบัดนี้ การเล่าเรียนก็เป็นแพนกหนึ่งต่างหากจากราชการอื่น ๆ ทุกอย่างแล้ว เว้นแต่บางอย่าง คือ ตำแหน่งขุนนางที่รับราชการอยู่ในออฟฟิศที่จัดการเล่าเรียน

ยังต้องฝากอยู่ในกรมมหาดเล็ก (คือ ขุนวรการโกศล เป็นต้นนั้น) บ้าง

ต้องฝากไว้ในกรมอาลักษณ์ (คือ ขุนวิทยานุกูลกระจี เป็นต้นนั้น)

แลที่ยังลอย ๆ ไม่มีสังกัดกรม (คือ เปรียญแลอาจาริย์ทั้งหลาย) ก็มีมาก

แลเป็นคนยืมมาแต่ทหารมหาดเล็กยังไม่ขาดจากกรม (คือ หลวงสุรยุทธ-โยธาหาญ แลหม่อมเจ้าอัทยาเป็นต้น)

...เพราะเหตุนี้ ข้าพระพุทธเจ้า จึ่งเห็นด้วยเกล้าว่า

เวลานี้ถึงกำหนดที่จำเป็นจะต้องคิดอ่านแยกการโรงเรียนทั้งปวงออกขาดจากที่เกี่ยวข้องอยู่ในการทหาร ก่อนที่จะจัดราชการอย่างอื่น ๆ ของราชการโรงเรียน

ก็ควรที่แยกออฟฟิศโรงเรียนออกจากที่เกี่ยวข้องกับการทหาร ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การศึกษาซึ่งได้จัดมาจนบัดนี้ ก็ได้เจริญขึ้นมาก พ้นจากความควรวิตกว่าจะเสื่อมถอยนั้นได้อยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง

 

433 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ตามความเข้าใจของข้าพระพุทธเจ้ามาแต่เดิมนั้น

กระแสพระราชดำริห์ในการศึกษานี้ ก็มีพระราชประสงค์จะตั้งขึ้นในเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่สมควรเป็นกรมหนึ่งในราชการต่างหากจากราชการกรมอื่น ๆ...

กรมศึกษาถ้าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเป็นกรมหนึ่ง...ถ้าจัดอย่างคอมมิศชั่น ผู้เป็นอธิบดีเป็นคอมมิศชั่นเนอ ออฟเอดุเคชั่น (Commissioner of Education) เรียกว่า ข้าหลวงบัญชาการศึกษา อย่างนี้เป็นการสมควรกว่าอย่างอื่นทั้งสิ้น...

ข้าพระพุทธเจ้า ดำรงราชานุภาพ

25. แผนการดำเนินงานครั้งแรกของ กรมศึกษาธิการ

วันที่ 4 พฤษภาคม พ.. 2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลเรื่อง แผนการดำเนินงานครั้งแรกของกรมศึกษาธิการ(31) ดังนี้

() จะจัดการเรียบเรียงแบบเรียน อย่าง 1

() จะจัดการตั้งโรงเรียนวิชาชั้นสูง อย่าง 1

() จะจัดการขยายโรงเรียนสอนวิชาราษฎร อย่าง 1

...แต่ก่อนได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์ เรียบเรียงเรื่องต่าง ๆ ในการสาสนาบ้าง ฝ่ายวิชาภาษมคธบ้าง การที่เกณฑ์ก่อนนั้น สำเหร็จบ้างย้งค้างอยู่บ้าง ไม่สำเหร็จบ้าง ที่ไม่สำเร็จคือที่เกณฑ์แปลธรรมบท...หนังสือบทมาลาภาษามคธ กรมหมื่น วชิรญาณก็ทรงแปลเรียบเรียงเกือบจะสำเหร็จ ได้ลงมือลงพิมพ์อยู่บ้างแล้ว นับว่าเป็นสำเหร็จได้ซักเรื่องหนึ่ง...

...ในส่วนแบบเรียนภาษาสยาม ซึ่งแจ้งอยู่ในบาญชีเกณฑ์เป็นหลายอย่างนั้น เป็นของทำสำเหร็จบ้างแล้ว กำลังเรียบเรียงอยู่บ้าง ที่เป็นของใหม่แก้อยู่ 2 อย่าง คือ ไวยากรณ์ภาษาสยาม อย่าง 1 (เรียบเรียงเป็นทำนองเดียวกับแกรมมาอังกฤศ) ดิกชันนารี อย่าง 1...อักขรภิธานศรับที่หมอแบรดเลลงพิมพ์ไว้นั้น เป็นแค่ศรับท์พลาดโดยมาก...

26. ส่งขุนวรการโกศล ศึกษาดูงานการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 20 ธันวาคม พ.. 2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลเรื่องส่งขุนวรการโกศล ศึกษาดูงานด้านการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น มีรับสั่งให้ดูงาน 8 ข้อ(32) ดังนี้

...(1) การเล่าเรียนขั้นต้นของราษฎร

 

434 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

() โรงเรียนสอนวิชาขั้นต้นของราษฎร โรง 1 จุนักเรียนกี่คน

() เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายเรียนต่างกันอย่างไร

() กำหนดเด็กกี่คนต่ออาจาริย์

() สอนวันกี่ชั่วโมง แบ่งเวลาเรียนอย่างไร

() สอนวิชาอย่างใดบ้าง

() สอนให้เปล่าฤๅเรียกค่าเรียนเท่าใด

() การรักษาโรงเรียนอย่างไรบ้าง

() มีเจ้าพนักงานตรวจสอบอย่างไร ตรวจปีละกี่ครั้ง

() เงินใช้ค่ารักษาโรงเรียนปีละเท่าไร ได้มาจากไหน

() เด็กเรียนประมาณคนละกี่ปี จึงเป็นหมดวิชาที่สอนในโรงเรียนนั้น

() เมื่อเด็กจะออกจากโรงเรียน ต้องสอบซ้อมวิชาอย่างไร

() ข้อบังคับบัญชาในโรงเรียนนั้นอย่างไร

(2) การเล่าเรียนชั้นกลาง

() โรงเรียนชนิดนี้ เรียนเปล่าฤๅต้องเสียเงิน

() การเรียนที่ยอมรับนักเรียนใหม่จัดอย่างไร

() นักเรียน

() การสอนในโรงเรียนชั้นปีจัดอย่างไร แบ่งเป็นกี่ชั้น

() สอนวิชาอะไรบ้าง วิชาอย่างไร สอนเพียงไร

() โรงเรียนชั้นนี้ เคาเวอแมน (Government) ได้ช่วยอย่างไรบ้าง

() ข้อบังคับโรงเรียนชั้นนี้ อย่างไร

() การที่อยู่แลรักษานักเรียนอย่างใด

(3) การเล่าเรียนชั้นสูง

โรงเรียนชั้นนี้ยังไม่มีในกรุงสยาม ที่จะกะข้อให้ตรวจกะไม่ได้

ต้องตรวจเป็นสำเนาการ เหล่านี้

() โรงเรียนจัดอย่างไร รวมกันทีหลัง ใหญ่โตเท่าใด

() ธรรมเนียมในโรงเรียนนั้นอย่างไร

() ที่อยู่ของนักเรียนอย่างไร

() เรียนอย่างไรเรียนที่นี้

(4) โรงเรียนอาจาริย์

() โรงเรียนชนิดนี้ คนชนิดใดมาเล่าเรียน

() เล่าเรียนอะไรบ้าง

() ธรรมเนียนเล่าเรียนอย่างไร

() นักเรียน ๆ รู้ออกไปประมาณปีละกี่คน

() นักเรียนคน 1 ต้องเสียปีละเท่าไร

() โรงเรียนจัดอย่างไร

 

435  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

(5) โรงเรียนสอนการต่าง ๆ

โรงเรียนชั้นนี้ คือ โรงเรียนสอนวิชาหมอ 1 วิชากฎหมาย 1

การไร่นา 1 การค้าขาย 1 ต้องตรวจดูให้รู้ว่า

() จัดการอย่างไร

() นักเรียนคนชนิดไร

() เรียนรู้แล้วไปไหน

() โรงเรียนเหล่านี้ มีประโยชน์แก่เคาเวอแมน (Government) อย่างไรบ้าง

() ธรรมเนียมจัดการในโรงเรียนอย่างไร

(6) การโรงเรียนทั้งปวง ใช้คนต่างประเทศเป็นครูมากน้อยเท่าใด

(7) วิชาเพียงชั้นใดที่สอนด้วยภาษายี่ปุ่น แลเพียงชั้นไรที่สอนด้วยภาษาต่างประเทศ

(8) หนังสือที่ใช้เล่าเรียน แลรูปถ่าย แลแปลนโรงเรียน ถ้าพอหาซื้อได้ ควรจะหาซื้อมาเป็นตัวอย่าง ๆ ละสิ่ง...

27. ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจาริย์หรือนอมัลสกูล

วันที่ 8 เมษายน พ.. 2431 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลเรื่องตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจาริย์หรือนอมัลสกูล(33) ดังนี้

...ด้วยความขัดข้องซึ่งมีแต่การศึกษาอยู่ 2 อย่าง คือ ที่ผู้เล่าเรียนมีน้อย แลไม่มีตำราเรียนนั้น ก็ค่อยบันเทาเบาขึ้นมาก

...ในปีชวดสัมฤทธิศกนี้ก็คงจะได้เห็นผลที่ได้ลงมือทำมาใน 2 ปี ที่ล่วงแล้วนั้นหลายอย่าง ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ถึงการจะยังไม่พร้อมเพรียงเรียบร้อยทีเดียว ก็ ควรลงมือจับจัดการอันเป็นชั้นสูง ต่อขึ้นไปในเวลานี้ได้

การศึกษาซึ่งจะจัดให้สูงขึ้นไปในตอนนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า จะต้องจับจัดการฝึกหัดผู้ซึ่งจะเป็นอาจาริย์ ก่อนการฝึกหัดอย่างนี้เรียกโดยภาษาอังกฤษว่า นอมัลสกูล คือฝึกหัดผู้ซึ่งมีความรู้อยู่บ้างแล้ว ให้รู้วิชาต่าง ๆ ที่จะต้องการสอน แลรู้ทางที่จะสอนแลให้ได้ความรู้ทั้งปวงนั้นโดยเร็ว เมื่อรู้แล้วส่งแยกกลับไปสอนใน โรงเรียนชั้นกลาง แห่งหนึ่งฤๅหลายแห่งตามซึ่งต้องการจะให้มี ให้ฝึกหัดนักเรียนใช้ โรงเรียนให้รู้วิชาชั้นต้นที่จะไปเรียนยังยูนิเวอสิตีในภายหลัง

การนอมัลสกูลนี้ ถ้าได้จัดขึ้นได้คงจะเป็นทางที่จะมีโรงเรียนใหญ่ คือ ปับบลิคสกูล แล ยูนิเวอสิตี ต่อไป ในภายหลังไม่ช้านัก

ที่จะจัดนอมัลสกูลขึ้นตามความเห็นในชั้นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วย

 

436 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เกล้าฯ ว่า ถ้าจะตั้งออกต่างหากคงจะเปลืองพระราชทรัพย์แลได้ประโยชน์ช้ากว่าที่จะ ตั้งขึ้นในออฟฟิศกรมศึกษาธิการ เองทีเดียว ด้วยจะได้รับพระราชทานตรวจตรา ตั้งการเล่าเรียนแลที่จะแก้ไข ตั้งตำราตั้งวิธีเรียน แลจัดการใหม่นี้ ให้เห็นผลโดยเร็ว...

...ส่วนวิชาที่จะสอนในโรงเรียนนอมัลสกูลนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ในชั้นต้นนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ก่อน คือ

ฝ่ายวิชานักปราชญ์ ส่วน 1

ฝ่ายวิชาหนังสือ ส่วน 1

ฝ่ายวิชากฎหมาย ส่วน 1

(1) ในฝ่ายวิชานักปราชญ์ สอนวิชา 9 อย่าง คือ

1 วิชายีโอครัฟฟี สอนด้วยแผนที่โลก - Geography

2 วิชาฟิซิแกลยีโอครัฟฟี สอนด้วยเหตุที่เกิดแก่โลก - Physical Geography

3 วิชาแมทมะติก สอนวิชาเลขชั้นสูง - Mathematic

4 วิชาแอสตรอนอมี สอนดาราศาสตร์ - Astronomy

5 วิชาซูโอโลยี สอนพรรณแห่งสัตว์ - Zoology

6 วิชาบอตะนี สอนพฤกษศาสตร์ - Botany

7 วิชาบิโอโลยี สอนตำราปัดถวิธาตุ - Biology

8 วิชาฟิซิก สอนอาการธรรมดา - Physic

9 วิชาคิมมิศตรี สอนโลกธาตุ - Chemistry

(2) ในฝ่ายวิชาหนังสือ สอน 3 ภาษา คือ

1 ภาษาไทย ที่จะเข้าใจกระบวนไวยากรณ์ แลวิชาหนังสือพงศาวดารด้วย

2 ภาษาบาฬี ที่จะเข้าใจกระบวนไวยากรณ์ แลแปลทั้งบาฬีเป็นไทย แลไทยเป็นบาฬีด้วย

3 ภาษาอังกฤษ ที่จะเข้าใจกระบวนไวยากรณ์ แลหัดแปล

(3) ในฝ่ายวิชากฎหมาย สอนด้วยกระบวนพระราชกำหนดกฎหมาย แลลักษณพิจารณาความแลวิชาโปลิติคอลอิโคโนมีด้วย (Political Economy)

...อาจารย์ ซึ่งจะสอนในนอมัลสะกูลในชั้นแรกตั้งนี้ เป็นการลำบากที่จะเลือกหาเป็นอันมาก

ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า จะต้องจัดให้มี อาจารย์ สำหรับสอนส่วนละคน แลแบ่งนักเรียนให้เรียนส่วนละ 10 คน  

 

437 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ในส่วน วิชานักปราชญ์ นั้น ขอรับพระราชทานจ้าง มิสเตอ เฮน รี นิโกเล

เดิมเป็นอาจารย์ในโรงเรียนกรมแผนที่ ภายหลังไปเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนคะเด็ด แลลาออกจากอารย์เสียแล้ว มาเป็นอาจารย์ รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 150 เหรียญ คน 1

ในส่วน วิชาภาษาไทย ขอรับพระราชทาน นายแพ เปรียญ 4 ประโยค นายเทษ เปรียญ 3 ประโยค เป็นอาจารย์รับพระราชทานเงินเดือน 40 บาทคนหนึ่ง 30 บาท คนหนึ่ง

ในส่วน วิชากฎหมาย...ขอรับพระราชทาน นายเปล่ง ช่วยมาเป็นอาจารย์...เดือน 100 บาท...เพราะเป็นทั้งการสอนแลต้องทำตำราเรียนกฎหมายให้ด้วย...

28. ตั้งโรงเรียนสำหรับสอนวิชาฝ่ายทหาร (โรงเรียนทหารสราญรมย์)

วันที่ 8 พฤษภาคม พ.. 2431 ตั้งโรงเรียนสำหรับสอนวิชาฝ่ายทหาร(34) (หรือโรงเรียนทหารสราญรมย์) เป็นการปฏิรูปจัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาทหารและวิชาสามัญรวมอยู่ในโรงเรียนเดียวกันเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมการสอนวิชาทหารแยกอยู่ในโรงเรียนคะเด็ดและการสอนวิชาสามัญอยู่ที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลเรื่องการตั้งโรงเรียนสำหรับสอนวิชาฝ่ายทหาร ดังความสำคัญบางตอน ดังนี้

...อนึ่งในระหว่างนั้น กำลังข้าพระพุทธเจ้า ต้องเกี่ยวข้องติดราชการฝ่ายทหารติดพันอยู่ ได้ตกลงในในฝ่ายกรมยุทธนาธิการว่า ควรจะจัดตั้งโรงเรียนสำหรับสอนวิชาเด็กนักเรียนที่เป็นทหารขึ้นอีก ข้าพระพุทธเจ้า จึ่งได้สั่งให้เลิกโรงเรียนสราญรมย์เสียโรงหนึ่ง เลิกโรงเรียนแผนที่อีกโรงเรียนหนึ่ง จัดที่โรงเรียนสราญรมย์ ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนสำหรับสอนวิชาฝ่ายทหาร

จัดเอาพวกคะเด็ด แลนักเรียนเดิมในโรงเรียนแผนที่ ไปสมทบกันเล่าเรียน

ส่วนนักเรียนเก่าในโรงเรียนสราญรมย์ที่เลิกเสียนั้น ก็เข้ามาเล่าเรียนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบบ้างไปเล่าเรียนตามโรงเรียนวัดต่าง ๆ บ้าง

ที่โรงเรียนสราญรมย์นั้นก็คงเป็นโรงเรียนสำหรับสอนพวกคะเด็ดต่อมา วิธีสอนวิชาที่สอน แลจำนวนนักเรียนในโรงเรียนคะเด็ดคงจะมีแจ้งในรายงานฝ่ายยุทธนาธิการนั้นแล้ว

ด้วยเป็นการแพนก 1 ไปจากกรมศึกษาธิการ...

 

438 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

29. ปรับปรุงการศึกษาตามแบบประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.. 2431 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลเรื่องการปรับปรุงการศึกษาตามแบบประเทศญี่ปุ่น และบัญชีเครื่องเล่าเรียน พระราชทานให้ประเทศญี่ปุ่น(35) ดังนี้

...ราชการของกรมศึกษาธการในระหว่าง 3 เดือนนี้ มีเหตุที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดการแก้ไขเพิ่มเติมแลเปลี่ยนแปลงไปอีกหลายสิ่ง หลายอย่าง ในส่วนที่เป็นสิ่งสำคัญ คือ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระยาภาษกรวงษ์ให้รับตำแหน่งยศเป็นเอกอรรคราชทูตวิเสศออกไป เจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศยี่ปุ่นนั้น เป็นโอกาศของกรมศึกษาธิการ ที่จะได้มีเจ้าพนักงานออกไปตรวจตราดูการศึกษาต่างประเทศ มาสอบสวนเปรียบเทียบกับการศึกษาฝ่ายสยาม เพื่อจะได้เป็นทางที่จะจัดการแก้ไขให้เป็นการเพิ่มไปสู่ทางเจริญ ของกรมศึกษาธิการฝ่ายสยามต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต แลทำคำสั่งเป็นสำเนาข้อบังคับให้แก่เจ้าพนักงานผู้จะออกไปตรวจดูการศึกษาฝ่ายประเทศยี่ปุ่นนั้น ไปเป็นเค้าที่จะได้ตรวจการ สำเนาคำสั่งมีแจ้งอยู่ ดังที่ได้จักนำขึ้นทูลเกล้าถวาย...

30. กรมศึกษาธิการ ปรับปรุงโครงสร้างกรมศึกษาธิการ(36)

วันที่ 2 ธันวาคม พ.. 2431 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลเรื่อง จัดแบ่งโครงสร้างของกรมศึกษาธิการ แบ่งเป็น 5 เวรงาน (หน่วยงาน) ได้แก่ เวรจดหมาย เวรเก็บจดหมาย เวรบาญชีเงิน เวรรายงาน และเวรแต่งตำราเรียน

การสอนวิชา มีอาจารยไทย 6 อาจารยอังกฤษ 2 นักเรียนมี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระบวรวงษ์เธอ หม่อมเจ้า หม่อมราชวงษ์ หม่อมหลวง เจ้าประเทศราช แลบุตรข้าราชการ เล่าเรียน นักเรียนเจ้าใหม่ จักเป็น ชั้นที่ 1

เข้าเล่าเรียนในห้องเรียน 2 ห้อง มีอาจารยสอนห้องละคน เรียนบุรพบท เรียนเลข พออ่านออกเขียนได้

แล้วส่งเข้าห้องเรียน ชั้นที่ 2 มีอาจารยสอนคน 1 เรียนมูลบทบรรพกิจจนจบ เรียนเลข เรียนพงษาศวดาร

แล้วส่งเข้าห้องเรียน ชั้นที่ 3 มีอาจารยสอนคน 1 เรียนวาหนิต์นิกร อักษรประโยค จนจบ เรียนเลข เรียนพงษาวดาร

แล้วส่งเข้าห้องเรียน ชั้นที่ 4 มีอาจารยสอนคน 1 เรียนสังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ จนจบ เรียนเลข เรียนพงษาวดาร

แล้วส่งเข้าสอบซ้อมในห้องเรียน ชั้นที่ 5 จนไล่ประโยคที่ 1 ได้

 

439 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

แล้วให้เล่าเรียนวิชา ประโยคที่ 2 ต่อไปในห้องเรียนที่ 5 คือ หัดเรียงความ ย่อความ หัดทำบาญชี หัดแปลศัพท์ต่าง ๆ เรียนภาษามคธ

การสอน วิชาทั่วไป คือ สอนภาษาอังกฤษ เรียนวันหนึ่ง คนละชั่วโมง 1 สอนคดีโลกย์ คดีธรรมเดือนละ 8 ครั้ง

การปกครอง อยู่ในอธิบดีผู้บัญชาการกรมศึกษา เป็นธุระดูแลตรวจตรา แลมี

เจ้ากรมประจำอยู่ดูการ คน 1

สมุหบาญชี คน 1

พนักงานดูการห้องสมุด คน 1

31. ตั้งมหาธาตุวิทยาลัย

วันที่ 20 ธันวาคม พ.. 2431 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลดังนี้

...ยกอาจารย์บอกพระไตรปิฎกในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมารับเงินเดือนในกรมศึกษาธิการ แลให้กรมศึกษาธิการจัดการเลี้ยงเช้าเลี้ยงเพลพระภิกษุสามเณรที่มาเรียน แลจัดพนักงานมีปฏิบัติอยู่เสมอ การก็เรียบร้อยเจริญมาทุกที จนมีพระภิกษุสามเณรเล่าเรียนเกือบ 200 รูปเสมอแลเมื่อไล่หนังสือ 2 คราวมา พระภิกษุสามเณรที่เล่าเรียนในนี้ก็เข้าไล่ได้เป็นเปรียญเป็นอันมาก เป็นพยานได้ว่าการที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการแก้ไขขึ้นนี้เป็นประโยชน์แลเป็นคุณแก่พระสาสนาแลราชการบ้านเมืองในส่วนหนึ่ง ซึ่งควรจะคงอยู่ฤๅให้ยิ่งดีขึ้น มิให้เลิกถอยเสื่อมทรามไปได้อีก….เพราะฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าจึงเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การที่จะจัดแก้ไขนี้ ควรให้เป็นการคิดตั้งวิทยาไลยขึ้นสักแห่งหนึ่งตามอย่างที่จะให้มีในภายน่า นั้นทีเดียว...เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรยกการบอกพระไตรปิฎกในวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกไปตั้งในวิทยาไลยนั้น เรียกชื่อว่ามหาธาตุวิทยาไลยเมื่อภายน่าจะจัดขึ้นที่พระอารามอื่น ๆ อีก ก็จะได้ชื่อพระอารามอยู่หน้าต่อคำวิทยาไลยเข้าข้างท้าย...(37)

32. กำหนดตำแหน่ง ศักดินา เงินเดือนของขุนนางกรมศึกษาธิการ

วันที่ 17 มีนาคม พ.. 2432 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ กราบบังคมทูลขอพระราชทานกำหนดตำแหน่ง ศักดินา เงินเดือนของขุนนางกรมศึกษาธิการ เพื่อให้เป็นโครงสร้างระบบราชการที่เป็นอัตราถาวรสืบไป(38)

33. ตั้งผู้กำกับการกรมธรรมการ(39)

วันที่ 5 เมษายน พ.. 2432 ประกาศราชกิจจานุเบกษาความว่า กรมธรรมการนั้น เปนกรมใหญ่ แต่ก่อนเคยมีพระบรมวงศานุวงษ์กำกับการกรมนั้น บัดนี้ยังหามีผู้ใดกำกับการไม่

 

440 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเปนผู้กำกับการกรมธรรมการ แต่วันที่ 5 เมษายน รัตนโกสินทรศก 108

34. พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ อธิบดีกรมพยาบาล มีพระดำริเรื่องจัดตั้งโรงเรียนแพทย์(40)

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.. 2432 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ อธิบดีกรมพยาบาล มีหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ว่า กรมพยาบาลนี้ก็มิได้คิดแต่จะรักษาโรคอย่างเดียว คิดจะบำรุงวิชาแพทย์ศาสตร จะมีโรงเรียนแพทย์ด้วย

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.. 2432 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ กราบบังคมทูลเรื่องการคิดจะบำรุงวิชาแพทยศาสตร์ โดยจะมีโรงเรียนแพทย์ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตส่งเด็กอายุ 12 - 13 ปี ไปเรียนวิชาหมออย่างยุโรป ประมาณ 10 ปี เพื่อกลับมาเป็นครูสอนวิชาแพทย์ยุโรปให้กับคนสยาม แต่ยังไม่ได้ดำเนินการ

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.. 2432 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ เริ่มประชวร หมอวิลลิศ เป็นผู้ถวายการรักษา พระอาการทุเลาในเบื้องต้น แต่ต่อมาพระอาการทรุดหนักลง

วันที่ 10 ตุลาคม พ.. 2432 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ สิ้นพระชนม์(41) จึงไม่ทันที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์

35. ย้ายออฟฟิศกรมพยาบาล(42)

เดือนตุลาคม พ.. 2432 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศย้าย ออฟฟิศที่จัดการกรมพยาบาลทั่วไป ซึ่งเดิมอยู่ที่โรงศิริราชพยาบาล มาอยู่ที่ตึกออฟฟิศกรมศึกษาธิการ

...ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดมีธุระแลราชการเกี่ยวข้องแก่กรมพยาบาล ขอให้ส่งจดหมายฤๅมาพูดจาข้อกิจธุระแลราชการ ที่ออฟฟิสกรมศึกษานั้น...

หมายเหตุ

ศาลาธรรมการ หรือออฟฟิสกรมศึกษาธิการ ในปี พ.. 2432 อยู่ที่ตึกสองชั้น หลังศาลาสหทัยสมาคม ริมประตูพิมานไชยศรี ด้านตะวันออกในเขตพระบรมมหาราชวังชั้นนอก และย้ายไปเมื่อ พ.. 2436(43)

36. กรมพยาบาล และกรมธรรมการ รวมกับกรมศึกษาธิการ(44)

.. 2433 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรื่อง ตำแหน่งพนักงานกรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ กรมพยาบาล พบว่า กรมพยาบาลยังเป็นกรมย่อยอยู่ในกรมศึกษาธิการ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นอธิบดีทั้ง 3 กรม คือ กรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ และกรมพยาบาล ในปีนี้กรมพยาบาลมีตำแหน่งขุนนางในกรม 4 ตำแหน่ง ได้แก่

 

441 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

แพทย์ที่ปรึกษา 2 คน (พระประสิทธิ์วิทยา หมอเฮวาด บี เฮส์) ผู้ตรวจการ 1 คน (หลวงไตรกิศยานุกิจ) บัญชีกลาง 1 คน (ขุนพิสิฐสรรพวิจารณ์) ยังไม่พบตำแหน่งขุนนางของโรงเรียนแพทยากร

37. จัดตำแหน่งพนักงานกรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ กรมพยาบาล รวมกัน(45)

เดือนสิงหาคม พ.. 2433 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา จัดตำแหน่งพนักงานกรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ กรมพยาบาล รวมกัน โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชนุภาพ เป็นอธิบดีบัญชาการทั้ง 3 กรม ดังความย่อดังนี้

ตำแหน่งพนักงานกรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ กรมพยาบาล

อธิบดี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ

นายเวรวิเศษ หลวงไพศาลศิลปศาสตร

กรมศึกษาธิการ

รองอธิบดี หม่อมเจ้าประภากร

สมุหบาญชี หลวงวินิจวิทยาการ

(มีตำแหน่งข้าราชการอีก 34 ตำแหน่ง)

กรมธรรมการ กรมสังฆการี

จางวางกรมธรรมการบังคับกรมสังฆการี พระยาวุฒิการบดี

(มีตำแหน่งข้าราชการอีก 19 ตำแหน่ง)

กรมพยาบาล

แพทย์ที่ปฤกษาการ พระประสิทธิ์วิทยา

หมอเฮวาด ที เฮส์

ผู้ตรวจการโรงพยาบาล หลวงไตรกิศอานุกิจ

บาญชีกลาง ขุนพิสิฐสรรพวิจารณ์

38. ตั้งกระทรวงพระธรรมการ

.. 2433 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี 12 ตำแหน่ง(46)เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.. 2435 กล่าวถึงที่มาการตั้งกระทรวงพระธรรมการเมื่อ ร.. 109 (ตรงกับ พ.. 2433) ว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมธรรมการและสังฆการีที่ขึ้นอยู่ในกรมมหาดไทยมารวมกับกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงหนึ่งต่างหากแล้ว ซึ่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกันพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ อธิบดีกรมพยาบาล ประชวรและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.. 2432 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

 

442 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เป็นอธิบดีบัญชาการ ทั้ง 3 กรมรวมกันยกขึ้นเป็น กระทรวงพระธรรมการ ในปี พ.. 2433

ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี

มีพระบรมราชโองการ...สั่งให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า...ราชการบ้านเมืองย่อมจะเป็นที่เรียบร้อยได้ด้วยการจัดการแบ่งกระทรวงน่าที่พนักงานให้ทำการเปนหมวดเปนหมู่...แลต้องแบ่งน่าที่ราชการให้เปนส่วนเปนพแนกตามกระทรวง ราชการทั้งปวงจึงจะสำเร็จไปได้...จึงได้ทรงพระราชดำริห์แก้ไขธรรมเนียมกระทรวงของการที่เสียให้ดีขึ้นใหม่มาเป็นชั้น ๆ ตามกาลแลสมัย...

...แลในรัตนโกสินทร์ศก 109 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการโยธาต่าง ๆ ที่อยู่ในกระทรวงต่าง ๆ มาตั้งเป็นกระทรวงโยธาธิการขึ้น แลรวมกรมโทรเลขไปรสนีย์เข้าในกระทรวงโยธาธิการ แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมธรรมการและสังฆการีที่ขึ้นอยู่ในกรมมหาดไทยมารวมกับกรมศึกษาธิการเป็นกระทรวงหนึ่งต่างหากแล้ว

เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการมีกระทรวงใหญ่ ให้ประชุมกันปฤกษาราชการตามน่าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกันเปนที่ประชุมเสนาบดี 12 ตำแหน่ง เรียกว่า เสนาบดีสภา...จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ให้บันดาเสนาบดีทั้งปวงนี้ ให้มียศเสมอกันทั้งสิ้น ไม่ให้ถือว่าเปนอรรคมหาเสนาบดี ฤๅเปนจตุสดมภ์ ฤๅเป็นเสนาบดีตำแหน่งใหม่ แลพนักงานน่าที่ของกระทรวงต่าง ๆ ทั้งปวงนี้ จะได้มีพระราชบัญญัติออกต่อไปในภายหลังด้วย

ประกาศมาแต่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันที่ 1 เมษายน ร.. 111

สรุป

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ดำเนินการจัดการศึกษาภายในกรมทหารมหาดเล็ก เมื่อ พ.. 2414 ไปพร้อมกับการตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทย โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ และโรงเรียนคะเด็ดทหารมหาดเล็ก และตั้งเป็นแผนศึกษาธิการอยู่ในกรมทหารมหาดเล็ก ดำเนินการจัดการสนองพระราชดำริในด้านการจัดการศึกษา และให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทยและเลขทุกพระอาราม โดยใช้สถานที่เรียนในวัด เมื่อ พ.. 2418

ในปี พ.. 2428 การจัดการศึกษามีการพัฒนาไปมาก มีการแต่งแบบเรียนเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกับวิชาที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้ การตั้งโรงพิมพ์ในการพิมพ์แบบเรียน การเสนอ

 

443 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

แนวคิดการจัดวางรูปการโรงเรียน จัดทำรายงานการโรงเรียนทูลเกล้าฯ ถวายทุก 3 เดือน การจัดสอบไล่วิชาความรู้ของนักเรียนครั้งแรก การกำหนดหลักสูตรและวิชา การจัดการมีระเบียบแบบแผนและดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน

การปฏิรูปการศึกษาไทยประสบความสำเร็จ จนสามารถจัดตั้งเป็นกรมศึกษาธิการในปี พ.. 2430 ระบบราชการในการจัดการศึกษาแบบใหม่เจริญมั่นคงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่ง เมื่อการทดลองจัดราชการในรูปแบบกระทรวง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองจัดในกรมยุทธนาธิการเมื่อ พ.. 2430 สามารถดำเนินการไปด้วยดี จึงทรงยกกรมยุทธนาธิการขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการและขยายการทดลองจัดตั้งกระทรวงแบบตะวันตกไปยังกระทรวงพลเรือนอื่น ๆ เป็นลำดับ อย่างกระทรวงพระธรรมการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นต้น

ครั้นการทดลองจัดตั้งหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน จึงมีการปฏิรูประบบราชการทั้งประเทศในปี พ.. 2435 มีการจัดตั้งกระทรวงและแต่งตั้งเสนาบดี ครบ 12 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตรพาณิชการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพระธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงมุรธาธร ต่อมา กระทรวงพระธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงศึกษาธิการ (และมีการเปลี่ยนนามกลับไปมาหลายครั้ง)

ส่วนระบบราชการแพทย์และสาธารณสุขแบบปัจจุบันของประเทศไทย ก็มีจุดเริ่มต้นจากแผนกโรงเรียนของกรมทหารมหาดเล็กเช่นกัน จนกระทั่งจัดตั้งเป็นกรมพยาบาลและได้เจริญเป็นกระทรวงการสาธารณสุขเมื่อ พ.. 2485 สมัยรัชกาลที่ 8

นอกจากนี้ มีการปฏิรูประบบการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์ให้เป็นระบบตะวันตกและได้เจริญขึ้นมหาธาตุวิทยาลัยภายหลังเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในส่วนการศึกษาของทหาร เริ่มต้นจากโรงเรียนคะเด็ดซึ่งเป็นโรงเรียนสอนวิชาทหารอย่างเดียว ได้เจริญขึ้นเป็นโรงเรียนสำหรับสอนวิชาฝ่ายทหารหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าโรงเรียนทหารสราญรมย์ซึ่งได้จัดสอนทั้งวิชาสามัญและวิชาทหารรวมกันในโรงเรียนเดียว ต่อมาเจริญเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบกและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเตรียมทหารในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า การทดลองจัดราชการแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ จุดกำเนิดของระบบราชการแบบใหม่ของประเทศไทยที่เป็นการพลิกประเทศไทย หรือพลิกแผ่นดิน (Revolution) ดังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า-เจ้าอยู่หัว ตรัสไว้ ประเทศไทยจึงเจริญก้าวหน้ามั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน

 

444 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เชิงอรรถ

1 หมอในโรง หมายถึง หมอที่รับราชการในโรงทหารมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง มี 2 ตำแหน่ง คือ เซอเยน (Surgeon) 1 ตำแหน่ง และฮอสปิเติลซายัน (Hospital Sergeant) 1 ตำแหน่ง ส่วนโรงหมอในโรง หมายถึง โรงพยาบาลทหารในโรงทหารมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง สันนิษฐานว่า ใช้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของโรงทหารมหาดเล็ก ให้เป็นที่ทำการของแพทย์ทหาร 2 ตำแหน่ง - เซอเยน (Surgeon) และฮอสปิเติลซายัน (Hospital Sergeant)

2 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หมวดเบ็ดเตล็ด กร 5 บ/40 เรื่องกำหนดตำแหน่งยศศักดินาในกรมทหารน่า จ.. 1242 ร..99

3 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/54 หน้า 725 - 728

4 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/77 หน้า 621 - 623

5 กระทรวงกลาโหม, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช. ตำนานกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.. 2464, พิมพ์ครั้งที่ 2 พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, .. 2466, หน้า 3.

6 เรื่องเดียวกัน, หน้า 8

7 ประวัติพระยาศรีสุนทรโวหาร, หลักภาษาไทยเล่ม 1

8 ประกาศเรื่องโรงเรียนราชกิจจานุเบกษา 1 จ.. 1236, หน้า 257

9 ประวัติพระยาศรีสุนทรโวหาร, หลักภาษาไทยเล่ม 1

10 โปรดเกล้าฯ จะให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทย แลสอนเลขให้ทุก ๆ พระอาราม, ปัญจมรัชและฉัฐราชกับการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค, 2553 หน้า 8 - 9

11 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มร 5 นก/19 หน้า 486 - 487

12 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มร 5 นก/44 หน้า 646 - 647

13 เรื่องเดียวกัน, หน้า 648 - 664

14 เรื่องเดียวกัน, หน้า 649 - 652

15 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/54 หน้า 725 - 728

16 เดือนเจ็ด ปีระกา สัปตศก จ.. 1246 ตรงกับ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พ.. 2428

17 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/55 หน้า 176 - 181

18 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/56 หน้า 103 - 105

19 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/60 หน้า 57 - 58

20 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/62 หน้า 717 - 729

21 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/63 หน้า 256 - 258

22 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/65 หน้า 226 - 227

23 .. 2429

24 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/66 หน้า 375 - 376

25 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/75 หน้า 35 - 42

26 เรื่องเดียวกัน, หน้า 401 - 403

27 เรื่องเดียวกัน, หน้า 405 - 406

28 เรื่องเดียวกัน, หน้า 418 - 420

29 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/77 หน้า 621 - 623

30 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/82 หน้า 390 - 394

31 เรื่องเดียวกัน, หน้า 990 - 996

32 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 ศ/1 รายงานขุนวรการโกศล เรื่องการตรวจโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น จ.. 1249 หน้า 1 - 5

33 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/92 หน้า 535 - 539

34 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/93 หน้า 97 - 109

35 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/97 หน้า 75 - 83

 

445 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

36 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/98 หน้า 406 - 427

37 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/99 หน้า 233 - 237 และมีในแทรกอยู่ในแจ้งความกระทรวงพระธรรมการราชกิจจานุเบกษา เล่ม 6 หน้า 300 - 301

38 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 มร 5 นก/106 หน้า 195 - 203

39 ตั้งผู้กำกับการกรมธรรมการราชกิจจานุเบกษา 6 แผ่นที่ 1 (7 เมษายน ร.. 108), หน้า 2

40 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 หนังสือกราบบังคมทูล มร 5 นก/106 หน้า 92 - 94

41 ราชกิจจานุเบกษา 6, หน้า 248 - 249

42 ใช้สะกดว่า ออฟฟิส อยู่ในแจ้งความกรมพยาบาลราชกิจจานุเบกษา 6 แผ่นที่ 35 (1 ธันวาคม ร.. 108), หน้า 300

43 คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, รายงานการประชุมเสนาบดีสภา รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 2 รายงานการประชุมเสนาบดีสภา ร.. 112 ตอน 1, หน้า 74 - 77, 392

44 ราชกิจจานุเบกษา 7, หน้า 189 - 190

45 ตำแหน่งพนักงานกรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ กรมพยาบาลราชกิจจานุเบกษา 7, หน้า 189 - 190

46 ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดีราชกิจจานุเบกษา 9 แผ่นที่ 4 (24 เมษายน ร.. 111), หน้า 25 - 28